วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ดาหลัง

ประวัติผู้แต่ง


พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง 
                                                            พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
 ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
 ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
 บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
 ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
 บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
            ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
  ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย (สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงมีพระนามเดิมว่า 
"ด้วง"  หรือ  "ทองด้วง"  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279  เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร  กรมขุนพรพินิต  ต่อมาได้เข้ารับราชการในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ  ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรี  และปฏิบัติราชการที่เมืองราชบุรีจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310  ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช  หลวงยกกระบัตรได้รับราชการอย่างแข็งขันและมีพระปรีชาสามารถโดยเฉพาะด้านการ สงคราม
          พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1
.  ด้านการเมืองการปกครอง 
                              1
.1)  ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่  โดยทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
                              1
.2)  โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระกฎหมายให้ถูกต้องยุติธรรม  เรียกว่า  "กฎหมายตราสามดวง"  เพราะประทับตราสำคัญ 3 ดวง  ได้แก่  ตราราชสีห์ของสมุหนายก  ตราคชสีห์ของสมุหพระกลาโหม  และตราบัวแก้วของกรมท่า
                              1
.3)  ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง  เช่น  คลองบางลำพูทางตะวันออก  คลองโอ่งอ่างทางใต้  ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนเกาะที่มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือกับกรุง ศรีอยุธยา  รวมทั้งสร้างกำแพงพระนครและป้อมปราการไว้โดยรอบ  ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมปราการไว้โดยรอบ  ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ  และป้อมมหากาฬที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
                              1
.4)  ทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามกับรัฐเพื่อนบ้าน  สงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามเก้าทัพกับพม่า
                   2
.  ด้านเศรษฐกิจ
                              2
.1)  ในตอนต้นรัชกาลที่ เศรษฐกิจยังไม่ดีเพราะมีการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง  การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ลดลงมาก  แต่ในปลายรัชกาลบ้านเมืองปลอดภัยจากสงคราม  ทำให้ประชาชนมีเวลาประกอบอาชีพ  ส่วนการค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  มีเงินใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง  สร้างพระนคร  สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด  รวมทั้งสั่งซื้อและสร้างอาวุธเพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต  ทำให้บ้านเมืองและราษฎรเกิดความมั่นคงและมั่งคั่ง
                    3
.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม
                              3.1)  โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างพระราชวังและวัดให้มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ราษฎรให้เสมือนอยู่ในสมัยอยุธยาเมื่อครั้งบ้าน เมืองเจริญรุ่งเรือง  เช่น  โปรดเกล้า ฯ  ให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นมาใหม่  และพระราชทานนามว่า  "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"  รวมทั้งโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วไว้ในเขตพระบรมมหาราชวังเพื่อ ใช้ในการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัย อยุธยา
                              3
.2)  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ด้วยการออกแบบกฎหมายคณะสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ในพระธรรมวินัย  โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกให้มีความถูกต้องสมบูรณ์  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ  เช่น  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  วัดสุทัศนเทพวราราม  วัดสระเกศ  วัดระฆังโฆสิตาราม  วัดสุวรรณดารารามตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่ถูกทิ้งร้างตามหัวเมือง ต่าง ๆ แล้วนำมาประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามที่สร้างขึ้นใหม่  เช่น  อัญเชิญพระศรีศากยมุนี  จากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ  จังหวัดสุโขทัย  มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม  เป็นต้น
                              3
.3)  ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีและประเพณีสำคัญสมัยอยุธยา  เช่น  จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสมโภชพระนคร  แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของการกอบกู้ราชธานีขึ้นมาใหม่  เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับราษฎรและเป็นการรักษาพระราชพิธีโบราณ
                              3
.4)  ทรงส่งเสริมงานวรรณกรรม  โดยพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง  เช่น  รามเกียรติ์  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  โปรดเกล้า ฯ ให้แปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทย  เช่น  สามก๊ก  ราชาธิราช  แปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  ซึ่งวรรณคดีเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณค่าของเรื่อง   1.        ให้ความสนุกเพลิดเพลิน 2.        ให้ความรู้เกี่ยวกับกลอนบทละคร   และความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมรดกของไทย 3.    ...