วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คุณค่าของเรื่อง 

1.       ให้ความสนุกเพลิดเพลิน
2.       ให้ความรู้เกี่ยวกับกลอนบทละคร และความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมรดกของไทย
3.       ให้คติข้อคิดต่างๆ

ดาหลัง

คำประพันธ์ (วรรณคดีเรื่อง ดาหลัง)

            “ดะลัง” ภาษาชวาแปลว่า “หนัง” (หนังตะลุง)
            “นายหนัง” หรือศิลปินหัวหน้าวงหนัง   เขาเรียกว่า “ป๊ะดะลัง”   
            ในหมู่บ้านใจกลางเกาะบาหลีที่วัฒนธรรมประเพณีเก่ายังคงมีอิทธิพลมากอยู่นั้น   “นายบ้าน” มีวรรณะกษัตริย์    “พราหมณ์”ผู้ทำพิธีทางศาสนา  มีวรรณะพราหมณ์  ว่ากันตามฐานะแท้จริงที่ผมเห็น (พ.ศ 2532)   นายบ้านมีฐานะสูงกว่าพราหมณ์
            หลาย ๆ หมู่บ้านจึงจะมี “ป๊ะดะลัง” ศิลปินใหญ่สักคนหนึ่ง     และป๊ะดะลังนี้มีเกียรติยศมีฐานะศักดิ์ศรีสูงกว่านายบ้านเสียอีก    ลักษณะที่ศิลปินผู้ประกอบพิธีกรรม (การเล่นหนังเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม) มีศักดิ์ฐานะสูงสุดในสังคมนี้   ผมเชื่อว่าเป็นลักษณะพิเศษของสังคมเอเชียอาคเนย์ยุคดั้งเดิม
            คำว่า “ดาหลัง” ในเมืองไทย   นอกจากหมายถึง  “หนัง”(หนังตะลุง)แล้ว  ยังเป็นชื่อวรรณคดีที่สยามรับมาจากชวาด้วย    วรรณคดี “ดาหลัง” นี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “อิเหนาใหญ่”
            วรรณคดี “อิเหนาใหญ่” (ดาหลัง) และ “อิเหนาเล็ก”  แพร่หลายมาถึงสยามในช่วงปลายยุคกรุงศรีอยุธยา    มีหลักฐานชัดเจนในวรรณคดีเรื่อง “บุณโณวาทคำฉันท์” ของพระมหานาค วัดท่าทราย แต่งในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ว่ามหรสพที่เล่นในงานพระพุทธบาทสระบุรีนั้น  มีเรื่องิเหนาด้วย
            และมีตำนานว่า    เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ  พระราชธิดาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงแต่งบทละครขึ้นองค์ละเรื่อง  เป็นเรื่อง “ดาหลัง”และ “อิเหนา”  
            ในพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนา   รัชกาลที่สอง  ทรงนิพนธ์ว่า
            “อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง           สำหรับงานการฉลองกองกุศล
            ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์             แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป”
            อันที่จริงบทละครเรื่องอิเหนา สำนวนยุคกรุงศรีอยุธยานั้น   ยังปรากฏต้นฉบับอยู่บ้างนิดหน่อย   ดังที่ผมเคยนำเสนอในสยามรับนานมาแล้ว
            พระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่ง  ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาใหญ่(ดาหลัง)และเรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา)  พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงวิจารณ์ไว้ว่า
            “ควรเชื่อได้ว่าทั้งสองเรื่องนั้น  สำนวนเดิมเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เพราะการฟื้นฟูวรรณคดีก็ดี  ราชการงานเมืองก็ดี   เป็นการฟื้นฟูตามแบบกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น     ท่านไม่น่าจะมีเวลามาคิดแต่งดาหลังขึ้นใหม่แน่”  
            และพระองค์ทรงวิจารณ์บทละครเรื่อง “ดาหลัง” ว่า  “ดาหลัง เป็นกลอนบทละคร  ฝีปากปานกลาง  ท้องเรื่องสับสนกว่าเรื่องอื่น ๆ  “อิเหนา”(เล็ก)เป็นกลอนบทละคร  ท้องเรื่องไม่ยุ่งอย่างดาหลัง  ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่สอง  มีโวหารไพเราะเฉียบแหลมเป็นอย่างยิ่ง  แม้จะแต่มาแล้วตั้ง 100 ปีก็ยังไม่เสื่อมความนิยมของมหาชน  เคยได้รับความยกย่องของราชบัณฑิตยสถานในรัชกาลที่หก  ว่าเป็นยอดของกลอนทั้งหลายในเมืองไทยเพียงเวลานั้น ”
(เรื่อง “ดาหลัง” พิมพ์ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี  พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า วันที่ 22 เมษายน 2499)
          แม้ว่าสำนวนกลอนใน “ดาหลัง” จะไม่ไพเราะเท่า “อิเหนา”   แต่ก็ควรศึกษาอย่างยิ่งในแง่ของความเป็น “ทางกลอนสมัยอยุธยา”
            จะขอยกสำนวนในตอน  ระเด่นมนตรี(อิเหนา หรือ ดาหลัง) ครวญถึงนางเกนบุษบาเมียคนแรกของระเด่นมนตรี   ที่ถูกท้าวกุเรปัน บิดาของระเด่นมนตรีสั่งฆ่าเพราะโกรธที่ระเด่นมนตรีไปลุ่มหลงจนไม่ยอมไปแต่งงานกับธิดาท้าวดาหาที่ท้าวกุเรปันสู่ขอไว้     ระเด่นมนตรีพบศพของนางเกนบุษบาในป่าจึงนำศพลงแพหนีหายไป    ระหว่างที่อยู่ในแพกับศพนางเกนบุษบา  ระเด่นมนตรีคร่ำครวญว่า
            ๐ เมื่อนั้น                                    ฝ่ายระเด่นมนตรีเรืองศรี
พระเนาในแพศพเทวี                              โศกีครวญคร่ำร่ำไร
บุษบาส่าหรีเจ้าพี่อา                               แต่เราลอยคงคาอันหลั่งไหล
ได้ห้าวันแล้วเจ้าดวงใจ                           เจ้าไม่พาทีด้วยพี่ชาย
เจ้าเคยเชยชวนให้ชูชื่น                           ครั้นรื้อฟื้นคืนคิดก็ใจหาย
พี่สู้เสียสมบัติอันเพริศพราย                    พี่มาเอกากายอยู่กลางชล
เห็นวารีรี่เรื่อยหลั่งไหล                            เหมือนดวงชลนัยน์ให้โหยหน
แต่พี่เดียวมาเปลี่ยวทุกข์ทน                    จงลุกขึ้นชมชลด้วยพี่ชาย
แม้นเจ้าไม่ม้วยมรณา                             จะชี้ชมมัจฉาอันหลากหลาย
เจ้ามานอนแน่นิ่งไม่ติงกาย                      สายสวาทผินหน้ามาพาที
เห็นลมพาคงคาเป็นคลื่นซัด                     เหมือนเราพลัดมาจากสวนศรี
เห็นฟองชลลอยล่องชลธี                         เหมือนเจ้ากับพี่ลอยแพมา
โอ้ว่าแต่นี้นะอกเอ๋ย                                จะชวดชมชวดเชยเสน่หา

จะชวดสุขเกษมศรีปีดา                           จะเปล่าใจเปลี่ยวตาทุกราตรี ๐

ดาหลัง

เนื้อเรื่องย่อ

เรื่องดาหลังเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ชวา พระราชนิพนธ์นี้เป็นกลอนบทละครมีหน้าพาทย์กำหนดดนตรีประจำบทไว้เสร็จ เนื้อเรื่องดังกล่าวถึงกาลก่อนในชวาประเทศ มีราชธานีอยู่สี่นคร คือกุเรปัน ดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี กษัตริย์วงศ์เทวดาสี่พี่น้องครองนครละองค์ วงศ์เทวดานี้มีพระอัยกาธิราชเป็นต้นสกุล แต่สิ้นพระชนม์ไปแล้วจนมีฐานะเป็นเทวดาเรียกว่า ปะตาระกาหลา (ภัตตรกาล) และยังเวียนมาคุ้มครองโลก โดยเฉพาะวงศ์วานของท่าน เรื่องดำเนินไปว่าในจำพวกกษัตริย์ทั้งสี่นี้ ท้าวกุเรปันผู้พี่ใหญ่มีพระโอรสด้วยประไหมสุหรี (ปรไมยสวรียา) ซึ่งเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีนั้นก่อน ได้นามว่าอิเหนา ท้าวดาหาผู้รองลงมาในพระวงศ์ก็มีธิดาด้วยประไหมสุหรีดุจกันทรงพระนามว่า บุษบาก้าโละ


ท้าวกุเรปันทรงตุนาหงัน (หมั้น) พระธิดากรุงดาหาประทานแก่อิเหนาผู้เป็นโอรสแต่แรกประสูติมาแต่อิเหนาเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้ไปพบหญิงงามชาวไร่ชื่อ เกนบุษบา และหลงรักนางจนไม่ใยดีต่อคู่หมั่น พระบิดาพากเพียรจะให้อิเหนาไปอภิเษกสมรส แต่อิเหนาบิดพริ้วจนพระบิดากริ้วแสนสาหัส ถึงให้ไปลอบฆ่านางเกนบุษบาเสีย อิเหนาเสียพระทัยอย่างที่สุดจนหลบหนีไปจากพระนครพร้อมด้วยรี้พล เดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย และปลอมพระองค์เป็นชาวป่าเรียกนามว่า ปันหยี ในการที่ออกเดินทางไปโดยอาการอย่างนี้เรียกว่า มะงุมมะงาหรา และได้ไปประสบเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งทุกข์ทั้งสุข ผ่านบ้านเมืองใดก็ท้าเขารบ รบแล้วก็ชนะ บ้างก็ยอมแพ้ แก่ปันหยียกบุตรธิดาถวายทั้งทรัพย์สมบัติ ไปๆ ก็ไปหลงกลของเจ้าเมืองมะงาดา ซึ่งพาไปเที่ยวเกาะแล้วให้ล่มเรือปันหยี ปันหยีถูกคลื่นซัดไปขึ้นฝั่งด้วยกันกับประสันตา ต้องอยู่อย่างยากจนลำบากโดยการหากินเป็นดาหลัง คือผู้เชิดหนัง ระหว่างนี้พระญาติวงศ์รวมทั้งพระธิดาบุษบาก้าโละก็ออกติดตามหา โดยต่างก็ปลอมองค์เป็นปันจุเหร็จ คือชาวป่าเที่ยวรบราฆ่าฟันไปทุกเมือง จนท้ายสุดเหล่าเจ้านายซึ่งปลอมพระองค์เป็นชาวป่าออกหาซึ่งกันและกันนั้น เผอิญไปพร้อมกันอยู่ที่กรุงกาหลัง และไปได้ความว่าใครเป็นใครที่กรุงนั้น ในที่สุดบรรดาคู่ตุนาหงัน (คู่หมั่น) ก็ได้อภิเษกซึ่งกันและกันโดยแนวที่ถูกต้องทุกประการ

ดาหลัง

ประวัติความเป็นมา (วรรณคดีเรื่อง ดาหลัง)


ดาหลัง เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทยจัดอยู่ในประเภทบทละครใน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และ อิเหนา โดย ดาหลัง และ อิเหนา นั้นมีต้นเค้ามาจากนิทานปันหยีของทางชวาเหมือนกัน แต่ความนิยมในดาหลังนั้นมีน้อยมาก อันจะสังเกตได้ว่าแทบไม่มีผู้ใดคิดจะหยิบมาอ่านหรือนำมาศึกษาอย่างจริงจังอาจเพราะด้วยเนื้อหานั้นค่อนข้างรุนแรงกว่าอิเหนา ภาษานั้นไม่ไพเราะลื่นไหลน่าอ่านเท่ากับอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 และเนื้อเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ออกมานั้นไม่จบตอน ขาดในส่วนของตอนจบไป จึงไม่มีใครทราบว่าเรื่องดาหลังนั้นแท้จริงแล้วจบอย่างไร จากสาเหตุข้างต้นจึงน่าจะเป็นเหตุให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกมองข้ามไปโดยปริยาย
ดาหลัง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อิเหนาใหญ่ เป็นกลอนบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีเค้าเดิมมาจากนิทานชวา เชื่อกันว่าเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา หญิงเชลยชาวชวาปัตตานี ซึ่งเป็นข้าหลวงรับใช้เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้เล่าถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น ทั้งสองพระองค์จึงทรงแต่งเรื่องขึ้นคนละเรื่องคือ อิเหนาใหญ่ และ อิเหนาเล็ก แต่เรื่องทั้งสองสุญหายไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งอิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก โดยอาศัยเค้าเรื่องเดิมสมัยอยุธยา
พระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังนี้ ผู้รู้ทางวรรณคดีเห็นกันว่าเป็นโวหารสมัยรัชกาลที่ 1 ทั้งๆ ที่ไม่มีบานแผนก เป็นความนำในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลนั้นส่วนมาก แต่ความจริงการที่เรียกหนังสือใดๆ ว่าพระราชนิพนธ์นั้น สำหรับสมัยก่อนๆ ไม่ได้หมายความว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งเอง หรือเขียนเองแต่ลำพังพระองค์ เยี่ยงนักเขียนในปัจจุบัน ซึ่งอย่างน้อยก็บอกให้คนอื่นเขียนตามคำบอกสมัยนั้นพระองค์ทรงเป็นประธานในการเรียบเรียง ทรงรวบรวมนักประพันธ์ กวี มาช่วยกันคิดแต่งติชมจนเป็นเรื่องขึ้น  ซึ่งส่วนมากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 นั้นจะใช้วิธีประชุมกวีเสียเป็นส่วนมากที่จะนิพนธ์ด้วยองค์เองตลอดเรื่อง ในเวลาที่ไทยเราตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ใหม่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งอิเหนาใหญ่ และ อิเหนาเล็กขึ้นควรจะเชื่อได้ว่าทั้งสองเรื่องนั้นสำนวนเดิมเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพราะการฟื้นฟูวรรณคดีก็ดี งานราชการบ้านเมืองก็ดี เป็นการฟื้นฟูตามแบบกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น ท่านไม่น่าจะมีเวลามาคิดแต่งดาหลังขึ้นใหม่แน่


ดาหลัง

ประวัติผู้แต่ง


พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง 
                                                            พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
 ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
 ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
 บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
 ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
 บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
            ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
  ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย (สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงมีพระนามเดิมว่า 
"ด้วง"  หรือ  "ทองด้วง"  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279  เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร  กรมขุนพรพินิต  ต่อมาได้เข้ารับราชการในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ  ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรี  และปฏิบัติราชการที่เมืองราชบุรีจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310  ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช  หลวงยกกระบัตรได้รับราชการอย่างแข็งขันและมีพระปรีชาสามารถโดยเฉพาะด้านการ สงคราม
          พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1
.  ด้านการเมืองการปกครอง 
                              1
.1)  ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่  โดยทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
                              1
.2)  โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระกฎหมายให้ถูกต้องยุติธรรม  เรียกว่า  "กฎหมายตราสามดวง"  เพราะประทับตราสำคัญ 3 ดวง  ได้แก่  ตราราชสีห์ของสมุหนายก  ตราคชสีห์ของสมุหพระกลาโหม  และตราบัวแก้วของกรมท่า
                              1
.3)  ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง  เช่น  คลองบางลำพูทางตะวันออก  คลองโอ่งอ่างทางใต้  ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนเกาะที่มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือกับกรุง ศรีอยุธยา  รวมทั้งสร้างกำแพงพระนครและป้อมปราการไว้โดยรอบ  ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมปราการไว้โดยรอบ  ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ  และป้อมมหากาฬที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
                              1
.4)  ทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามกับรัฐเพื่อนบ้าน  สงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามเก้าทัพกับพม่า
                   2
.  ด้านเศรษฐกิจ
                              2
.1)  ในตอนต้นรัชกาลที่ เศรษฐกิจยังไม่ดีเพราะมีการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง  การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ลดลงมาก  แต่ในปลายรัชกาลบ้านเมืองปลอดภัยจากสงคราม  ทำให้ประชาชนมีเวลาประกอบอาชีพ  ส่วนการค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  มีเงินใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง  สร้างพระนคร  สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด  รวมทั้งสั่งซื้อและสร้างอาวุธเพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต  ทำให้บ้านเมืองและราษฎรเกิดความมั่นคงและมั่งคั่ง
                    3
.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม
                              3.1)  โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างพระราชวังและวัดให้มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ราษฎรให้เสมือนอยู่ในสมัยอยุธยาเมื่อครั้งบ้าน เมืองเจริญรุ่งเรือง  เช่น  โปรดเกล้า ฯ  ให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นมาใหม่  และพระราชทานนามว่า  "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"  รวมทั้งโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วไว้ในเขตพระบรมมหาราชวังเพื่อ ใช้ในการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัย อยุธยา
                              3
.2)  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ด้วยการออกแบบกฎหมายคณะสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ในพระธรรมวินัย  โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกให้มีความถูกต้องสมบูรณ์  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ  เช่น  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  วัดสุทัศนเทพวราราม  วัดสระเกศ  วัดระฆังโฆสิตาราม  วัดสุวรรณดารารามตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่ถูกทิ้งร้างตามหัวเมือง ต่าง ๆ แล้วนำมาประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามที่สร้างขึ้นใหม่  เช่น  อัญเชิญพระศรีศากยมุนี  จากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ  จังหวัดสุโขทัย  มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม  เป็นต้น
                              3
.3)  ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีและประเพณีสำคัญสมัยอยุธยา  เช่น  จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสมโภชพระนคร  แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของการกอบกู้ราชธานีขึ้นมาใหม่  เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับราษฎรและเป็นการรักษาพระราชพิธีโบราณ
                              3
.4)  ทรงส่งเสริมงานวรรณกรรม  โดยพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง  เช่น  รามเกียรติ์  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  โปรดเกล้า ฯ ให้แปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทย  เช่น  สามก๊ก  ราชาธิราช  แปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  ซึ่งวรรณคดีเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน


วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ดาหลัง

ชื่อเรื่อง : ดาหลัง
กวี : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประเภท : บทละครใน
คำประพันธ์ : กลอนบทละคร
ความยาว : 32 เล่มสมุดไทย
สมัย : กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ปีที่แต่ง : รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ชื่ออื่น :  อิเหนาใหญ่
ลิขสิทธิ์ : กรมศิลปากร
จุดมุ่งหมาย  : ใช้แสดงละครถวายพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
คุณค่า : ต้นแบบเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๒ ของกรุงรัตนโกสินทร์



ดาหลัง เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทยจัดอยู่ในประเภทบทละครใน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องคือ รามเกียรติ์ อุณรุฑ ดาหลัง และ อิเหนา โดย ดาหลัง และ อิเหนา นั้นมีต้นเค้ามาจากนิทานปันหยีของทางชวาเหมือนกัน แต่ความนิยมในดาหลังนั้นมีน้อยมาก อันจะสังเกตได้ว่าแทบไม่มีผู้ใดคิดจะหยิบมาอ่านหรือนำมาศึกษาอย่างจริงจังอาจเพราะด้วยเนื้อหานั้นค่อนข้างรุนแรงกว่าอิเหนา ภาษานั้นไม่ไพเราะลื่นไหลน่าอ่านเท่ากับอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 และเนื้อเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ออกมานั้นไม่จบตอน ขาดในส่วนของตอนจบไป จึงไม่มีใครทราบว่าเรื่องดาหลังนั้นแท้จริงแล้วจบอย่างไร จากสาเหตุข้างต้นจึงน่าจะเป็นเหตุให้วรรณคดีเรื่องนี้ถูกมองข้ามไปโดยปริยาย

คุณค่าของเรื่อง   1.        ให้ความสนุกเพลิดเพลิน 2.        ให้ความรู้เกี่ยวกับกลอนบทละคร   และความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมรดกของไทย 3.    ...